日本に住む外国籍家庭に赤ちゃんが生まれたときの大切な3つの手続き
ข้อมูล / ให้ความร่วมมือโดย : ทีมซัพพอร์ทงานวีซ่าเด็ก ฝ่ายงานนานาชาติ สมาคมผู้รับรองเอกสารจังหวัดคานางาว่า
情報提供・協力:神奈川県行政書士会国際部子どもビザさぽチーム
เมื่อมีบุตรเกิดในครอบครัวชาวต่างชาติ ขอให้ยื่นคำร้องเพื่อทำเรื่องต่อไปนี้
① กรณีบิดามารดาเป็นชาวต่างชาติทั้งคู่ → ยื่นคำร้องเพื่อทำเรื่องข้อ A, B, C
② กรณีบิดาหรือมารดาเป็นคนญี่ปุ่น → บุตรที่เกิดสามารถยื่นคำร้องเพื่อขอสัญชาติญี่ปุ่นได้ กรณีที่ต้องการขอแค่สัญชาติญี่ปุ่นขอให้ยื่นคำร้องเพื่อทำเรื่องข้อ A กรณีที่ต้องการขอสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่ญี่ปุ่นด้วย ขอให้ยื่นคำร้องเพื่อทำเรื่องข้อ A, C
外国籍の家庭に赤ちゃんが生まれたら、以下の手続きをしてください。
① 両親がともに外国籍の場合 → A、B、Cの手続きを行ってください。
② 両親のどちらかが日本国籍の場合→ 赤ちゃんは日本国籍を取ることができます。日本国籍のみを取る場合は、Aの手続きをします。そして、日本国籍と併せて外国籍も取る場合は、AとCの手続きを行ってください。
จะเกิดอะไรขึ้น หากไม่แจ้งเกิดไปยังที่ว่าการเขตของญี่ปุ่น
日本の役所に出生届を出さないとどうなりますか?
จะไม่สามารถลงทะเบียนผู้อยู่อาศัยในญี่ปุ่นได้
จะไม่สามารถถือบัตรประกันสุขภาพได้
จะไม่สามารถทำเรื่องขอสถานภาพการพำนักในญี่ปุ่นได้
日本での住民登録ができません。
健康保険証を持つことができません。
日本の在留資格の申請ができません。
จะเกิดอะไรขึ้น หากไม่ทำเรื่องขอสถานภาพการพำนัก
在留資格の申請をしないとどうなりますか?
หากไม่ทำเรื่อง แล้วอยู่ในญี่ปุ่นเกินกว่า 60 วันขึ้นไป จะถือเป็นการอยู่อาศัยเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ (โอเวอร์สเตย์)
หากจะอยู่ในญี่ปุ่นเกินตั้งแต่ 60 วันขึ้นไป ขอให้ทำเรื่องที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (นิวคัน) ภายใน 30 วันตั้งแต่วันที่บุตรเกิด
申請しないで60日を超えて日本にいた場合はオーバーステイになります。
60日以上日本に滞在するのであれば、生まれてから30日以内に入管に申請してください。
จะเกิดอะไรขึ้น หากไม่ทำเรื่องไปยังประเทศที่ถือสัญชาติอยู่
本国への登録をしないとどうなりますか?
ทางประเทศที่ถือสัญชาติอยู่จะไม่ทราบว่ามีเด็กเกิดมา
อาจมีผลให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นด้วย
(ในเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ในการเดินทางออกนอกประเทศญี่ปุ่น (เดินทางไปทัศนศึกษา เป็นต้น) การแต่งงาน การสมัครเข้าทำงาน เป็นต้นนั้น ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยทั่วไป จะขอดูเอกสารที่ออกโดยต่างประเทศ เช่น หนังสือเดินทาง(พาสปอร์ต) หนังสือรับรองการแจ้งเกิด หรือหนังสือรับรองสัญชาติ ซึ่งหากไม่ทำเรื่องแจ้งเกิดไปยังประเทศที่ถือสัญชาติอยู่ ก็จะไม่สามารถขอเอกสารเหล่านี้ได้)
本国が赤ちゃんの存在を把握していないことになります。
日本での生活にも支障が出ることがあります。
(例えば海外にいく (修学旅行など)、結婚をする、就職する、などのときに、日本では一般的に本国が発行する旅券や出生証明書、国籍証明書が求められますが、それらが取得できないことにつながるので注意が必要です。)
出生届(日本の役所への届け出)
病院にて………用紙をもらう
เมื่อบุตรเกิด ทางโรงพยาบาลจะออกแบบฟอร์มการแจ้งเกิดให้กับมารดา (หรือครอบครัว) ของบุตรที่เกิด
หนังสือรับรองการเกิดที่อยู่ด้านขวาของแบบฟอร์มนั้น ทางโรงพยาบาลจะเป็นผู้ลงรายละเอียด
赤ちゃんが生まれたら、
病院は出生届の用紙を赤ちゃんの母(または家族)に渡します。
用紙の右側の出生証明書には病院の記載があります。
หน้าซ้าย 左側
มีช่องให้มารดาและบิดาของบุตรเป็นผู้กรอก ขอให้กรอกข้อมูลที่บ้าน
赤ちゃんの母と父が記載する箇所があります。
自宅で記入してください。
หน้าขวา 右側
มีบันทึก “หนังสือรับรองการเกิด” จากทางโรงพยาบาล
หากไม่ได้นำแบบฟอร์มนี้ไปยื่นกับที่ว่าการเขต ก็จะไม่ได้ถูกรับรองให้เป็นหนังสือรับรองในการเกิด
病院の「出生証明書」への記載があります。
役所に出して受理されないと出生の証明書にはなりません。
自宅にて………用紙を記入する
ข้อควรระวังในการกรอกข้อมูล
●เกี่ยวกับ “ชื่อเด็ก” ในการแจ้งเกิด กรณีที่เป็นชาวต่างชาติ จะเขียนชื่อด้วยตัว “คาตากานะ”
โดยจะมีตัวอักษร (ตัวอักษรภาษาอังกฤษ) ตามกฎหมายของประเทศที่ถือสัญชาติอยู่กำกับไว้ด้วย
สำหรับผู้ที่ถือสัญชาติจีน สัญชาติเกาหลี สามารถยื่นขอจดชื่อเป็นตัวอักษรคันจิได้ด้วย *เฉพาะตัวคันจิในภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น
記入時の注意点
●出生届における「子どもの名」については、外国人の場合、「カタカナ」で記載します。
本国法上の文字(アルファベット)を付記しておきます。
中国・韓国の国籍の方であれば、漢字で届出することもできます。※日本の漢字のみ。
สิ่งที่ต้องตรวจสอบก่อนยื่นเรื่อง
●หนังสือรับรองที่ออกโดยทางราชการญี่ปุ่นเกี่ยวกับการรับรองการเกิดนั้นมี 2 ชนิด โปรดตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจำเป็นต้องใช้หนังสือรับรองชนิดใดในการยื่นทำเรื่องนั้นๆ
①หนังสือรับรองการรับเรื่องแจ้งเกิด (ชุทเซโทโดเคะจุริโชเมโช) (เอกสารที่รับรองว่าได้รับแจ้งเกิด)
②หนังสือรับรองการแจ้งเกิด (ชุทเซโทโดเคะคิไซจิโคโชเมโช) (เอกสารที่รับรองรายละเอียดที่มีระบุไว้ในใบแจ้งเกิด)
โปรดตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจำเป็นต้องทำเรื่องขอประทับตรารับรองหรือทำการแปลภาษาเอกสารด้วยหรือไม่
提出前の確認事項
●出生を証明する公的な証明書は2種類あります。提出先によって、どちらが必要か、チェックしておきましょう。
①出生届受理証明書(出生届が受理されたことを証明するもの)
②出生届記載事項証明書(出生届に書いてある内容を証明するもの)
認証や翻訳が必要かどうかも、提出先によって変わります。チェックしておきましょう。
役所にて………提出する
ขอให้เดินทางไปที่ว่าการเขต(*)ที่อาศัยอยู่ภายใน 14 วันหลังจากที่บุตรเกิด
❶ยื่นคำร้องแจ้งเกิดที่ “ช่องติดต่องานรับแจ้งเกิด”
(และไปที่ช่องติดต่ออื่นๆ ที่จำเป็นที่นอกเหนือจากการแจ้งเกิดด้วย เช่นทำเรื่องขอเบี้ยเลี้ยงสำหรับเด็ก หรือทำประกันสุขภาพประชาชน เป็นต้น)
* สามารถยื่นเรื่อง ณ ที่ว่าการเขตของสถานที่ที่บุตรเกิด หรือสถานที่ที่พักค้างชั่วคราวได้เช่นกัน (กรณีที่บิดาหรือมารดาเป็นคนญี่ปุ่น สามารถแจ้งที่ที่ว่าการเขตของภูมิลำเนาของบิดาหรือมารดาก็ได้)
赤ちゃんが生まれて14日以内に住んでいる市区町村の役所に行きます。
❶「出生届の窓口」に出生届を提出します。
(児童手当や国民健康保険など、出生届以外の手続きも必要な窓口で行う)
※赤ちゃんの生まれた場所、一時的に滞在している場所の市区町村の役所にも、出すことができます。(父母のどちらかが日本人の場合は本籍地も可)
แบบฟอร์มการแจ้งเกิด (ที่มีการเขียนระบุเรียบร้อยแล้ว)
出生届の用紙(記載済みのもの)
สมุดบันทึกสุขภาพแม่และบุตร
母子健康手帳
หนังสือเดินทางของบิดาและมารดา
父と母のパスポート
บัตรประจำตัวผู้พำนักชาวต่างชาติ (ไซริวการ์ด) ของผู้ยื่นทำเรื่อง
届出人の在留カード
อื่นๆ ตามที่ขอโดยที่ว่าการเขต
その他、役所によって求められるもの
❷เมื่อยื่นใบแจ้งเกิดแล้ว
จะขอให้ที่ว่าการเขตออก “หนังสือรับรองการรับเรื่องแจ้งเกิด (ชุทเซโทโดเคะจุริโชเมโช)” เพื่อใช้ยื่นทำเรื่องที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (นิวคัน)
และจะขอ “หนังสือรับรองการรับเรื่องแจ้งเกิด (ชุทเซโทโดเคะจุริโชเมโช)” หรือ “หนังสือรับรองการแจ้งเกิด (ชุทเซโทโดเคะคิไซจิโคโชเมโช)” เพื่อใช้ยื่นทำเรื่องที่สถานทูต
(ขอให้สอบถามไปยังสถานทูต / สถานกงสุลของแต่ละประเทศว่าต้องการเอกสารไหน)
❷出生届を提出したら
入管手続き用に「出生届受理証明書」を発行してもらう。
大使館提出用に「出生届受理証明書」または「出生届記載事項証明書」を取る。
(どちらの書類が必要かは、各国大使館・領事館に確認する。)
❸ขอ “ทะเบียนผู้อยู่อาศัย (จูมินเฮียว)” ที่มีบันทึกชื่อของสมาชิกทุกคนในครัวเรือน(รวมถึงบุตรที่เกิดด้วย) เพื่อใช้ยื่นทำเรื่องที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (นิวคัน)
❸入管提出用に世帯全員が記載された「住民票」(赤ちゃんを含めたもの)を取る。
在留資格(入管(出入国在留管理局)への申請)
自宅にて………確認する
ตรวจสอบดูว่าสถานภาพการพำนักของบุตรจะเป็นอะไร
โดยสถานภาพการพำนักของบุตรจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสถานภาพการพำนักของบิดามารดา
ขอให้ทำการตรวจสอบที่บ้านก่อนที่จะเดินทางไปที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (นิวคัน)
子どもの在留資格はどのようなものになるか確認します。
親の在留資格で子どもの在留資格が変わります。
入管へ行く前に自宅で確認してください。
สถานภาพการพำนักของบิดาหรือมารดา 父母のいずれかの在留資格 |
สถานภาพการพำนักของบุตร 子どもの在留資格 |
ข้อควรระวัง 注意点 |
||
---|---|---|---|---|
นักการทูต 外交 เจ้าหน้าที่ 公用 |
นักการทูต 外交 เจ้าหน้าที่ 公用 |
ยื่นเรื่องที่สถานทูต/สถานกงสุล 大使館・領事館に申請します。 |
||
อาจารย์ 教授 ศิลปิน 芸術 งานด้านศาสนา 宗教 นักข่าว 報道 ผู้ประกอบอาชีพที่มีทักษะสูง 高度専門職 ผู้จัดการธุรกิจ 経営・管理 บริการด้านกฎหมาย/บัญชี 法律・会計業務 งานบริการทางการแพทย์ 医療 นักวิจัย 研究 นักการศึกษา 教育 วิศวกร/ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์/งานบริการนานาชาติ 技術・人文知識・国際業務 งานรับโอนภายในบริษัท 企業内転勤 ผู้ดูแลและให้การพยาบาล 介護 นักแสดง 興行 แรงงานที่มีทักษะ 技能 ทักษะเฉพาะทางหมายเลข 2 特定技能2号 งานด้านวัฒนธรรม 文化活動 นักเรียน/นักศึกษา 留学 |
ผู้ติดตามครอบครัว 家族滞在 | |||
ทักษะเฉพาะทางหมายเลข 1 特定技能1号 ผู้ฝึกงานด้านเทคนิค 技能実習 ผู้พำนักระยะสั้น 短期滞在 ผู้รับการฝึกงาน 研修 ผู้ติดตามครอบครัว 家族滞在 เฉพาะกิจกรรมตามที่กำหนด 特定活動 |
โดยพื้นฐาน ไม่มีรองรับ ขอให้มาปรึกษา 原則、当てはまるものはありません。 ご相談ください |
ปรึกษากับ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น ผู้รับรองเอกสาร เป็นต้น 相談先 行政書士等専門家 |
||
ผู้พักอาศัยถาวร 永住者 | คู่สมรสหรือบุตรของผู้พักอาศัยถาวร 永住者の配偶者等(永住者の子ども) |
*มีกรณีที่สามารถยื่นเรื่องขอสถานภาพการพำนักเป็นผู้พักอาศัยถาวร ※永住者の申請も できる場合があります。 |
||
คู่สมรสหรือบุตรของผู้พักอาศัยถาวร 永住者の配偶者等(永住者の子ども) คู่สมรสหรือบุตรของผู้ถือสัญชาติญี่ปุ่น 日本人の配偶者等(日本人の子ども) 정주자 定住者 |
ผู้พักอาศัยระยะยาว 定住者 | |||
ผู้พักอาศัยถาวรชนิดพิเศษ 特別永住者 | ผู้พักอาศัยถาวรชนิดพิเศษ 特別永住者 | ยื่นเรื่องที่ว่าการเขต / อำเภอ 市役所・区役所に申請します。 |
*กรณีที่สถานภาพการพำนัก ณ ปัจจุบันไม่มีในตารางข้างต้น ขอให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น ผู้รับรองเอกสาร เป็นต้น
※上記に該当しない場合は行政書士等専門家にご相談ください。
入管にて………申請する
ยื่นเรื่องเพื่อขอสถานภาพการพำนัก
เตรียมเอกสารดังต่อไปนี้ให้ครบถ้วน และทำการยื่นเรื่องภายใน 30 วันหลังจากที่บุตรเกิด
ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นเรื่องที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (นิวคัน) สำหรับการยื่นเรื่องเพื่อขอสถานภาพการพำนักให้กับเด็ก
ทั้งนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนในการทำเรื่อง ขอให้ใช้ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลอ้างอิง ณ วันที่ได้ทำการตรวจสอบข้อมูล
在留資格取得許可を申請します。
出生から30日以内に、下記書類をそろえて入管に申請します。
入管への手数料は子の在留資格取得の場合は無料です。
手続きは変更される可能性があります。確認時点での情報として参考にしてください。
เครื่องหมายนี้สามารถขอได้ที่ที่ว่าการเขตที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น
このマークは日本の住んでいる役所で取得する。
③หนังสือรับรองการรับเรื่องแจ้งเกิด (ชุทเซโทโดเคะจุริโชเมโช) (ฉบับจริง)
③出生届受理証明書(原本)
④“ทะเบียนผู้อยู่อาศัย (จูมินเฮียว) ที่มีบันทึกชื่อของสมาชิกทุกคนในครัวเรือน” รวมถึงบุตรที่เกิดด้วย (ฉบับจริง)
*เอกสารที่ออกมาไม่เกิน 3 เดือน
*ไม่ต้องมีบันทึกเกี่ยวกับหมายเลขประจำตัว(มายนัมเบอร์) แต่เพิ่มหัวข้อที่เกี่ยวกับผู้อยู่อาศัยชาวต่างชาติด้วย
(รายละเอียดคือ บันทึกให้ทราบว่าเป็นชาวต่างชาติที่พำนักในญี่ปุ่นเป็นระยะเวลากลางและยาว, สัญชาติ, สถานภาพการพำนัก, ระยะเวลาพำนัก, วันที่สถานภาพการพำนักจะหมดลง, หมายเลขบัตรประจำตัวผู้พำนักชาวต่างชาติ (ไซริวการ์ด))
④子どもを含めた「世帯全員の住民票」(原本)
※3か月以内に発行したもの
※マイナンバーについては省略し、外国人住民特有の事項も入れてもらう。
(中長期在留者であること、国籍、在留資格、在留期間、在留期間の満了日、在留カードの番号)
⑤หนังสือเดินทางของบุตร(*1) หรือ (สำหรับอ้างอิง) “ใบแสดงเหตุผลที่ยังไม่ได้ทำหนังสือเดินทาง” (*2)
*1 ทำได้ที่สถานทูต/สถานกงสุลของประเทศที่ถือสัญชาติอยู่
*2 กรณีที่อยู่ระหว่างเดินเรื่องทำหนังสือเดินทาง ขอให้แนบเอกสารที่แสดงว่าได้มีการยื่นเรื่องแล้วและกำลังดำเนินการอยู่
⑤子どものパスポート※1または(参考)「旅券未取得理由書」※2
※1 本国の大使館・領事館で取得
※2 パスポート申請中の場合は、受付票を添付
⑥หนังสือรับรองรายละเอียดภาษีผู้อยู่อาศัย (จูมินเซ โนะ คะเซโชเมโชะ) และหนังสือรับรองว่าได้ทำการชำระภาษีผู้อยู่อาศัย (จูมินเซ โนะ โนเซโชเมโชะ) ของผู้อุปการะเลี้ยงดูบุตร (เอกสาร 2 ชนิด, ฉบับจริง)
(มีระบุรายได้รวมตลอด 1 ปีที่ผ่านมา และสภาพของการชำระภาษี)
*จำเป็นต้องใช้เอกสารทั้ง 2 ชนิด ทั้งหนังสือรับรองรายละเอียดภาษี (คะเซโชเมโชะ) และหนังสือรับรองว่าได้ทำการชำระภาษี(โนเซโชเมโชะ)
*เอกสารที่ออกมาไม่เกิน 3 เดือน
<กรณีที่ผู้อุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็น “นักเรียน/นักศึกษา”>
·เอกสารที่แสดงให้รู้ว่าผู้ที่มายื่นทำเรื่องสามารถที่จะชำระค่าใช้จ่ายต่างๆในการใช้ชีวิต เช่น สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก เป็นต้น
⑥子どもを扶養する人の住民税の課税証明書、住民税の納税証明書(2種類、原本)
(1年間の総所得及び納税状況が記載されたもの)
※課税証明書と納税証明書、2種類必要です。
※3か月以内に発行したもの
<扶養する人が「留学」の場合>
・銀行の預金通帳のコピーなど、家族の生活するお金があることがわかるものがいります。
⑦เอกสารรับรองอาชีพของผู้อุปการะเลี้ยงดูบุตร
<สำหรับพนักงาน>
·หนังสือรับรองการทำงาน (เอกสารที่ออกมาไม่เกิน 3 เดือน)
<สำหรับผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว>
·ใบบันทึกรับรองการจดทะเบียนบริษัท
·สำเนาใบอนุญาตประกอบการ
·สำเนาหนังสือแจ้งรายได้
<กรณีที่ผู้อุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็น “นักเรียน/นักศึกษา”>
·หนังสือรับรองว่าเป็นนักเรียน/นักศึกษา (เอกสารที่ออกมาไม่เกิน 3 เดือน)
*กรณีของบุตร ที่บิดาหรือมารดาอยู่ในสถานภาพการพำนัก “คู่สมรสหรือบุตรของผู้ถือสัญชาติญี่ปุ่น” หรือ “ผู้พักอาศัยถาวรและคู่สมรสหรือบุตรถือสัญชาติญี่ปุ่นหรือบุตรของผู้พักอาศัยถาวร” หรือ “ผู้พักอาศัยถาวรระยะยาว” ไม่จำเป็นต้องใช้ แต่หากต้องการที่จะขอเป็น “ผู้พักอาศัยถาวร” จำเป็นต้องใช้
⑦子どもを扶養する人の職業を証明する書類
<雇用されている方>
・在職証明書(3か月以内に発行されたもの)
<事業を経営している方>
・会社の登記簿謄本
・営業許可書のコピー
・確定申告書のコピー
<扶養する人が「留学」の場合>
・在学証明書(3か月以内に発行されたもの)
※子どもが「日本人の配偶者等」または「永住者の配偶者等」の在留資格の場合には、いりません。ただし、「永住者」の取得申請をする場合には、必要です。
⑧หนังสือค้ำประกัน
ยื่นเฉพาะกรณีที่บิดาหรือมารดาอยู่ในสถานภาพการพำนัก “ผู้พักอาศัยถาวร” “คู่สมรสหรือบุตรของผู้ถือสัญชาติญี่ปุ่น” “คู่สมรสหรือบุตรของผู้พักอาศัยถาวร” หรือ “ผู้พักอาศัยระยะยาว” เท่านั้น
⑧身元保証書
父または母が「永住者」「日本人の配偶者等」「永住者の配偶者等」または「定住者」の在留資格の場合にのみ、提出します。
⑨บัตรประจำตัวผู้พำนักชาวต่างชาติ (ไซริวการ์ด) และหนังสือเดินทางของผู้อุปการะเลี้ยงดูบุตร (แสดงให้เจ้าหน้าที่ดูตอนที่มายื่นทำเรื่อง)
⑨子どもを扶養する人の在留カードおよびパスポート(申請のときに提示)
วันที่ได้ทำการตรวจสอบข้อมูล : วันที่ 25 สิงหาคม 2022
確認日:2022年8月25日
(東京出入国在留管理局横浜支局)
本国への登録(大使館・領事館)
大使館/領事館にて………登録する
การขึ้นทะเบียนบุตรที่เกิดไปยังประเทศที่ถือสัญชาติอยู่นั้น จะใช้เอกสารที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสถานทูตของแต่ละประเทศ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบว่าจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
โปรดตรวจสอบรายชื่อของสถานทูตแต่ละประเทศที่อยู่ในญี่ปุ่นได้จากเว็บไซต์ของกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นด้านล่างนี้
本国への赤ちゃんの登録は、それぞれの大使館により異なるため確認が必要です。
各国の駐日外国公館リストは以下の外務省のページからご確認ください。
ดูข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับขั้นตอนการทำเรื่องของแต่ละประเทศได้ที่ด้านล่างนี้
ทั้งนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนในการทำเรื่อง ขอให้ใช้ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลอ้างอิง ณ วันที่ได้ทำการตรวจสอบข้อมูล
กรณีที่ไม่มีรายชื่อประเทศที่ด้านล่างนี้ หรือสำหรับข้อมูลล่าสุด ขอให้ติดต่อไปที่สถานทูตของแต่ละประเทศ หรือติดต่อผู้รับรองเอกสาร เป็นต้น
各国の手続きの参考情報を以下に載せています。
手続きは変更される可能性がありますので確認時点での情報として参考にしてください。
以下に該当がない場合や最新情報は、各国大使館、または行政書士会等へお問い合わせください。
สาธารณรัฐประชาชนจีน
中華人民共和国
สาธารณรัฐเกาหลี
大韓民国
เวียดนาม
ベトナム
ฟิลิปปินส์
フィリピン
บราซิล
ブラジル
เนปาล
ネパール
เปรู
ペルー
อินเดีย
インド
สหรัฐอเมริกา
アメリカ
ไต้หวัน
台湾
ไทย
タイ
อินโดนีเซีย
インドネシア
ศรีลังกา
スリランカ
*แสดงข้อมูลของประเทศที่มีผู้ถือสัญชาตินั้นอาศัยอยู่ในจังหวัดคานางาว่ามากกว่า 3,000 คนขึ้นไป
※神奈川県に外国籍県民が3000人以上居住する国の情報を掲載しています。
相談先
คำถาม : เกี่ยวกับ 3 ขั้นตอนทำเรื่องที่สำคัญของบุตรที่เกิด จะไปปรึกษาใครหรือขอให้เป็นผู้ดำเนินการให้ได้ที่ไหน
Q:赤ちゃんの大切な3つの手続きについて、だれかに相談したり、頼むことはできますか?
คำตอบ : สามารถไปปรึกษา หรือขอให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นผู้ดำเนินการให้ได้
ผู้รับรองเอกสาร(เกียวเซโชะชิ) สามารถรวบรวมเอกสาร เขียนเอกสาร และทำการยื่นเรื่องที่ที่ว่าการเขต สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และสถานทูตแทนได้ และยังให้ความช่วยเหลือในการแปลภาษาเอกสาร และในการทำเรื่องขอประทับตรารับรองอีกด้วย
A: 専門家に相談し、頼むことができます。
行政書士は、市役所、入管、大使館にだす書類をあつめたり、書類をかいたり、代わりに申請に行きます。翻訳・認証もサポートします。
神奈川県行政書士会 外国人無料電話相談
ฝ่ายงานนานาชาติ สมาคมผู้รับรองเอกสารจังหวัดคานางาว่ามีบริการรับปรึกษาทางโทรศัพท์ด้วย 5 ภาษาฟรี (ครั้งแรก 30 นาที)
*หลังจากนั้น หากต้องการให้เป็นผู้ดำเนินการให้ จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น
神奈川県行政書士会国際部には5か国の無料電話相談があります。(初回30分)
※その後、お仕事を頼むときは、お金がかかります。
【วันที่รับปรึกษา】
วันจันทร์ : ภาษาญี่ปุ่น
วันพุธ : ภาษาญี่ปุ่น/ภาษาอังกฤษ
วันศุกร์ : ภาษาญี่ปุ่น/ภาษาจีน
*เฉพาะวันศุกร์ที่ 4 ของทุกเดือน จะให้บริการด้วยภาษาสเปน/ภาษาโปรตุเกสด้วย
*ยกเว้นวันหยุดช่วงสิ้นปีและปีใหม่ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
【เวลารับปรึกษา】 13:30~16:30
【ระยะเวลาในการปรึกษ】 ไม่เกิน 30 นาที / ครั้ง
【ค่าปรึกษา】 ฟรี
【ภาษาที่ใช้ในการปรึกษา】 ภาษาญี่ปุ่น / ภาษาอังกฤษ / ภาษาจีน / ภาษาสเปน / ภาษาโปรตุเกส รวมทั้งหมด 5 ภาษา
【ติดต่อสอบถาม】
โทรศัพท์ : 045-227-5560
【受付曜日】
月曜日:日本語
水曜日:日本語・英語
金曜日:日本語・中国語
※第4金曜日のみ、スペイン語・ポルトガル語対応も含む
※年末年始・祝日を除く
【受付時刻】13:30~16:30
【相談時間】一回30分以内
【相談料】無料
【対応言語】日本語・英語・中国語・スペイン語・ポルトガル語の5か国語
【お問合せ】
電話 : 045-227-5560
その他 相談先
หลากหลายภาษาคานากาวะ
多言語支援センターかながわ
https://kifjp.org/kmlc/tai/